เทคโนโลยีการซ่อมแซมการรั่วไหลของน้ำสำหรับในการดำเนินการขุดเจาะอุโมงค์
วิธีการปรับปรุงคุณภาพดินที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับการป้องกันการรั่วซึมของน้ำในอุโมงค์
1.ความเป็นมาของโครงการ
หลังจากอุโมงค์รถไฟได้เปิดใช้งานเป็นระยะเวลาหนึ่งได้เกิดการรั่วไหลของน้ำบางส่วน
เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำซึ่งไหลออกมาจากชั้นดินด้านนอกอย่างรุนแรง ซึ่งจะทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของอุโมงค์รถไฟ หน่วยซ่อมบำรุงจึงได้ส่งกระสอบทราย เพื่อระงับการไหลของน้ำและมีการเรียกประชุมเพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยมีหน่วยปฏิบัติการ หน่วยก่อสร้าง
2.วิธีการแก้
เนื่องจากการขนส่งรถไฟไม่สามารถหยุดให้บริการได้ แต่การไหลเข้ามาของน้ำและทรายยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง วิธีแก้ปัญหาจึงจำกัดซึ่งต้องมีดำเนินการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วนในช่วงนอกเวลาทำการและการซ่อมแซมดังกล่าวมีการตรวจสอบความปลอดภัยซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อการขนส่งรถไฟ เบื้องต้นได้กำหนดช่วงเวลาปฏิบัติงานประจำวันคือ เริ่ม 01.00 น. ถึง 04.30 น. ภายใต้ข้อจำกัด ที่เข้มงวดเกี่ยวกับเวลาการทำงานในแต่ละวันแผนการซ่อมแซมฉุกเฉินที่สนับสนุนซึ่งพัฒนาโดยทีมงานมืออาชีพจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
3.การออกแบบการทำงาน
ระยะเวลาในการบำรุงรักษาของอุโมงค์ทางรถไฟมีจำกัดและจุดรั่วไหลที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในบางส่วนของอุโมงค์ วัตถุประสงค์หลักของการออกแบบก่อสร้างคือ
(1) การหยุดการรั่วไหลของน้ำโดยเร็วที่สุด (2) การหยุดน้ำแบบถาวร (3) การเติมวัสดุเข้าไปช่องว่างของชั้นดินและชั้นดินที่เกิดความเสียหาย (4) การติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการอัดฉีดวัสดุและการซ่อมแซมฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต (5) การซ่อมแซมและบูรณะโครงสร้าง เนื่องจากการเสียรูปของอุโมงค์เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของการทำงานโดยรวมและด้วยหลักฐานในการรับประกันการซ่อมแซมที่เหมาะสม จึงได้นำการออกแบบการทำงานด้วยวิธีอัดฉีดวัสดุแบบแรงดันต่ำมาใช้ หลังจากการประเมินผลมีการตัดสินใจที่จะใช้การออกแบบผลงานดังต่อไปนี้:
(1) ใช้วัสดุประเภท PU (IP Series) มีขั้นตอนปฏิบัติงานดังนี้ คือ การเจาะรูโดยมีแนวเฉียง 45 องศา ตรงบริเวณจุดรั่ว จากนั้นดำเนินยิงวัสดุ PU ให้ขยายตัวเพื่อปิดจุดรั่วที่น้ำไหลออกหรือรอยแตกที่ทำให้น้ำไหล
(2) ใช้วัสดุเรซิ่นแข็งแบบไม่ขยายตัวแบบ PU ที่สามารถเตรียมวัสดุได้อย่างรวดเร็ว (Tipor Series) สำหรับการปิดกั้นและซ่อมแซมรอยแตกและช่องน้ำซึมแบบถาวร
(3)หลังจากติดตั้งแผ่นเหล็กพร้อมวาล์วหยุดน้ำและอุปกรณ์ป้องกันการไหลย้อนกลับของวัสดุ จากนั้นอัดฉีดวัสดุ LW เพื่อใช้ในการเติมช่องว่าง
(4)การติดตั้งฝาครอบป้องกันแบบถาวรบนหลุมเจาะแต่ละหลุมซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของรางรถไฟและสะดวกสำหรับการอัดฉีดกรณีฉุกเฉินในตำแหน่งเดียวกันในอนาคต
(5)การใช้มอร์ตาร์เรซิ่นคุณภาพสูงในการฟื้นฟูผิวซับและซ่อมแซมโครงสร้าง
4.กระบวนการทำงาน
เมื่อพบว่ามีน้ำโคลนไหลเข้ามาในอุโมงค์ในขั้นตอนแรกทางหน่วยซ่อมบำรุงจึงใช้กระสอบทรายซ้อนกั นเพื่อแก้ปัญหาการไหลของน้ำตรงตำแหน่งจุดรั่วในอุโมงค์ เมื่อดำเนินการซ่อมแซมใ นกรณีฉุกเฉินในขั้นตอนแรกจะใช้เรดาร์เพื่อระบุตำแหน่งเจาะเพื่อตรวจสอบการเจาะรู เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นด้านนอกผนังของอุโมงค์ จากนั้นจึงดำเนินการเจาะรูขนาดเล็กแบบเอียง จากนั้นใช้เรซิ่นแบบขยายตัวอัดฉีด และ อัดฉีดต่อด้วยเรซิ่นแบบแข็งที่ไม่ขยายตัว คุณสมบัติของเรซิ่นแข็งที่ไม่สามารถขยายตัวได้เพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำ หลังจากป้องกันการรั่วไหลของน้ำแล้วจุดระบายน้ำจะถูกใช้เป็นศูนย์กลางในการทำงานร่วมกับผลการตรวจจับเรดาร์
จากนั้นดำเนินการเจาะพื้นดินและการอัดฉีดวัสดุจากล่างขึ้นบนเพื่อเติมและเสริมความแข็งแกร่งของชั้นที่เป็นช่องว่างของชั้นดินและชั้นดินที่เกิดความเสียหาย กำหนดการก่อสร้างประจำวันเป็นไปตามหลักการที่ว่าขั้นตอนการอัดฉีดโดยรวมหลุมเดียวสามารถทำได้ในวันเดียวกัน ในกรณีที่พบการดูดซับวัสดุของชั้นตะกอนที่มีช่องมาก / ต้องใช้วัสดุจำนวนมาก แต่เวลาใช้งานไม่เพียงพอเมื่อสิ้นสุดเวลาการทำงานต้องปิดถังเก็บน้ำและติดตั้งฝาครอบป้องกัน
5. สรุป
ด้วยการอัดฉีดเรซิ่นที่ขยายตัวและยาฉีดเรซิ่นแข็งที่ไม่ขยายตัวบริเวณจุดรั่วของน้ำจะทำให้ปริมาณน้ำค่อยๆหยุดลง จากนั้นจึงใช้วัสดุ LW ที่ทนทานเพื่อเติมช่องว่างด้านหลังของผนังอุโมงค์ โพรงบริเวณที่ถูกรบกวนและเส้นทางน้ำใต้ดินที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ หลังจากยืนยันความสำเร็จของเป้าหมายการดำเนินการผ่านเรดาร์เจาะพื้นและการทดสอบการเจาะเพื่อตรวจสอบปริมาณน้ำแล้วใช้ปูนเรซินซึ่งถูกใช้เพื่อซ่อมแซมโครงสร้างและติดตั้งฝาครอบป้อ
เทคโนโลยีการซ่อมแซมการรั่วไหลของน้ำสำหรับในการดำเนินการขุดเจาะอุโมงค์
將下載檔案寄至:
・การแบ่งปันผลการก่อสร้างเพิ่มเติม
・ติดตาม FB ของเราเพื่อรับข่าวสาร